ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
บทวิจารณ์บรรณาธิการ : อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่
บทวิจารณ์บรรณาธิการ
15 พฤติกรรมฟื้นฟูความเยาว์วัยให้สมอง เคล็ดลับส่งตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น
หนังสือ
195.00 บาท
185.25 บาท
คอลัมน์ “ดร.ณัชร จัดหนังสือ” เล่มที่ 469 วันนี้ จะมาคุยถึงหนังสือ ชื่อ “อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่”
“ =ภาพรวม= ถ้าคุณผู้อ่านเป็นแฟนคอลัมน์ “ดร.ณัชร จัดหนังสือ” ก็คงจะคุ้นเคยดีแล้วว่าผู้วิจารณ์เคยเขียนถึงหนังสือพัฒนาสมองโดยแพทย์ญี่ปุ่นมาหลายเล่มแล้ว แต่เล่มนี้เป็นเล่มที่อยากแนะนำเป็นพิเศษเพราะอ่านง่าย เห็นภาพ และสร้างแรงจูงใจให้อยากฝึกตาม เพราะคุณหมอผู้เขียนมีวิธีเล่าเรื่องที่ชวนติดตาม ”
โดย ดร.ณัชร จัดหนังสือ
    ถ้าหมู่นี้คุณรู้สึกว่าสมองทำงานติด ๆ ขัด ๆ อ่านเท่าไหร่ก็ไม่เข้าหัว คิดไอเดียดี ๆ ไม่ได้ ไม่มีสมาธิ มักนั่งเหม่อ นึกเรื่องง่าย ๆ ที่น่าจะรู้อยู่แล้วไม่ออก หรือเวลาใครมาทักก็ต้องนึกอยู่สักพักถึงจะตอบได้ คุณหมอบอกว่าหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาเพื่อคุณ

=น่าสนใจจากในเล่ม=

* เราทำตัวแบบไหน สมองก็จะเป็นแบบนั้น หนังสือนี้จึงใช้การ ปรับพฤติกรมเพื่อพัฒนาสมองและป้องกันไม่ให้สมองแก่

* การปรับพฤติกรรมอาจไม่เห็นผลทันตา แต่ผลที่ได้จะยั่งยืนไปตลอดชีวิต ประเด็นสำคัญคือ ผู้อ่านต้องยอมรับแนวทางปฏิบัตินี้และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความตั้งใจของตนเอง

* ถ้าอยากให้สมองคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้อายุมากขึ้น ก็ต้องคอยบริหารสมองให้ตื่นตัวและพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะถ้าทำแต่เรื่องเดิม ๆ สมองจะเฉื่อยชาและค่อย ๆ เสื่อมสภาพไปในที่สุด

* แต่ก็มีบางอย่างที่ควรทำเป็นกิจวัตร คือ จังหวะชีวิตอันได้แก่การเข้านอนให้เร็วที่สุดและตื่นเช้าขึ้นมาอาบแสงแดดอ่อน ๆ เป็นประจำ ถ้าจังหวะชีวิตไม่เป็นระเบียบ สมองจะเฉื่อยชา ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการทางสมองที่ผูเขียนพบบ่อยที่สุด

* เนื่องจากสมองต้องมีช่วงหยุดพักบ้างสลับกับการทำงาน จังหวะชีวิตที่ไม่เป็นระเบียบและการไม่ได้หมั่นบริหารสมองจะทำให้สมองพักและทำงานไม่เป็นเวลา จะยิ่งทำให้ สมองขี้เกียจมากขึ้นเรื่อย ๆ

* จังหวะชีวิตที่ไม่เป็นระเบียบคือ ทางลัดสู่โรคสมองเสื่อมถึงแม้จะเข้านอนไม่เป็นเวลาก็ขอให้ฝึกให้เป็นนิสัยที่จะตื่นให้เป็นเวลาและตั้งใจทำงานตอนที่สมองปลอดโปร่งตอนเช้า

* ถ้ายิ่งใช้ชีวิตแบบตามใจตัวเองมากเท่าไหร่ สมองจะยิ่งขี้เกียจมากขึ้น ถ้าบังคับพฤติกรรมตนเองไม่ได้ ก็ลองเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บังคับให้ทำตามกฎระเบียบ เช่น ไปลงเรียนเสริมทักษะ หรือหาคนมาคอยช่วยกระตุ้นเป็นประจำ

* การออกไปเดินจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เต็มที่ เนื่องจากสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าอยู่บริเวณด้านบนของกะโหลก การเดินไปมาจงทำให้เลือดสูบฉีดขึ้นไปเลี้ยงถึงสมองส่วนบน ส่งผลให้สมองส่วนอื่น ๆ ได้รับอานิสงส์ไปด้วย

* ดังนั้นบางทีเวลาสมองตื้อแล้วลุกขึ้นเดิน จะรู้สึกสมองแล่นจนสามารถคิดออก

* การอ่านออกเสียงดีต่อสมอง แต่ต้องอ่านให้เหมือนกับกำลังอ่านให้ใครสักคนฟัง

* หมั่นฝึกกิจกรรมที่ต้องใช้มือ เช่น ทำสวน เพราะจะทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติส่งผลให้เครียดลดลง เมื่อสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์รู้สึกผ่อนคลาย สมองกลีบหน้าก็สามารถใช้พลังงานทั้งหมดไปกับการคิดวิเคราะห์ได้

* ควรฝึกกำหนดเส้นตายให้กับตนเองให้เหมือนเวลาทำข้อสอบ เพราะธรรมชาติสมองนั้นขี้เกียจและรักสบาย ถ้าไม่จวนตัวจริง ๆ จะไม่ยอมทำอะไรทั้งนั้น นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้คนผัดวันประกันพรุ่ง การกำหนดเส้นตายให้ตัวเองจึงเป็นการบังคับให้สมองต้องขยันขึ้น เมื่อฝึกบ่อย ๆ สมองจะขับเคลื่อนเร็วขึ้น

* เมื่อสมองขับเคลื่อนเร็วขึ้น มันจะไม่หยุดพักทันทีที่งานเสร็จ แต่จะยังขับเคลื่อนต่อไปอีกสักระยะ เป็นความรู้สึกอยากหาอะไรมาทำต่อ ดังนั้นให้ฉวยโอกาสช่วงที่สมองกำลังขับเคลื่อนเอางานอย่างอื่นมาทำ จะสัมผัสได้ว่างานง่ายขึ้นและทำได้รวดเร็วขึ้น

* เส้นตายที่กำหนดไม่ควรนานเกิน 2 ชั่วโมง

* การทำงานเหมือนกำลังสอบเป็นระยะแล้วพักจะทำให้ได้ผลงานปริมาณเท่ากันหรือมากกว่าเมื่อเทียบกับการลุยทำไปทั้งวัน เพราะอย่างหลังสมองจะล้า

* มีคนไข้คนหนึ่งพยายามจะทำงานตลอดเวลา ชีวิตมีแต่งาน เอางานกลับไปทำบ้าน อาจเกิดปัญหาไม่ค่อยมีสมาธิ และงานไม่คืบหน้า หลังจากสอบถามรายละเอียดเรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่น ๆ แล้วคุณหมอพบว่า ปัญหาเกิดจากการไม่กำหนดเส้นตายให้ตนเอง ลุยทำไปเรื่อย ๆ จนดึก จังหวะชีวิตรวน

* การนอนพักผ่อนให้เพียงพอเป็นเรื่องสำคัญมาก คนขี้ลืมหรือเรียบเรียงความคิดไม่เก่งมักเป็นคนที่นอนไม่พอ นอกจากนี้ การนอนไม่พอยังส่งผลเสียต่อ ระบบจัดระเบียบของสมองด้วย

* ถ้าจะอ่านหนังสือก่อนนอน ให้อ่านแบบสบาย ๆ เช่น เอาเอกสารที่จะใช้ทำงานวันรุ่งขึ้นมาอ่านพอผ่าน ๆ ก่อนเข้านอน เมื่อตื่นนอนข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เข้าใจเนื้อหาและจดจำได้ดีขึ้น หรือจะเขียนบันทึกประจำวันก็ได้

* สิ่งที่ไม่ควรทำก่อนนอน

1) ฟังเพลงหรือดูหนังที่กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกมาก ๆ

2) คิดเรื่องเครียด ๆ หรือ โต้เถียงกับคนอื่น

3) ออกกำลังกายหนัก ๆ

4) ใช้งานอวัยวะส่วนที่งผลถึงระบบสารทส่วนปลาย เช่น ปลายนิ้ว

5) ทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง

* ตอนเช้าถ้ามีไอเดียอะไรผุดขึ้นมา ให้จดบันทึกทันที

* เคล็ดลับที่สำคัญมากในการบริหารสมองก็คือ ต้องเน้นไปที่การเพิ่งประสิทธิภาพของการทำงานของสมองกลีบหน้าเป็นพิเศษ (ซึ่งเป็นส่วนที่ฝึกได้ด้วยการฝึกเจริญสติ ผู้วิจารณ์)

* เพราะหากสมองกลีบหน้าซึ่งเปรียบเหมือน ผู้บัญชาการของสมองทำหน้าที่ได้ดี ต่อให้เราขาดความรู้หรือประสบการณ์ไปบ้าง เราก็ยังสามารถวางแผนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือพูดได้ว่าเป็นคนที่มีศักยภาพในตัวสูง ยิ่งถ้ามีความรู้และประสบการณ์เสริมด้วยก็จะยิ่งเก่งขึ้นไปอีก

* ในทางตรงกันข้าม ถ้าสมองกลีบหน้าทำงานได้ไม่ดี ต่อให้เรามีความรู้หรือประสบการณ์แค่ไหน เราก็ไม่อาจคิดวางแผนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางคนจะเป็นพวก ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

* ถ้าสมองกลีบหน้าไม่ อึดและเกิดหมดแรงขึ้นมา เราจะเริ่มทำตัวตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล

* คนที่สมองกลีบหน้าทำงานได้ดี จะสามารถลงมือทำอะไรได้เองโดยไม่ต้องรอให้ใครสั่ง สามารถสงบสติได้แม้จะมีเรื่องรบกวนจิตใจ และมีอารมณ์คงเส้นคงวา

* สังคมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่คอยกระตุ้นเร้าสมองแทบจะตลอดเวลาอย่างในปัจจุบันทำให้คนรุ่นใหม่ขาดความ อึดของสมองกลีบหน้า

* วิธีแก้ง่าย ๆ ทางหนึ่งคือถ้ามีโอกาสก็ทำอาหารทานเองที่บ้านบ้างอย่ามัวแต่ซื้อเป็นประจำ เพราะทำให้เสียโอกาสในการฝึกสมอง

* การเอาชนะความขี้เกียจของตนเองในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกวันจะทำให้เรามีพลังในการเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ ๆ สามารถเริ่มได้ด้วยการฝืนเอาชนะตัวเองให้ได้สักวันละ 1-2 อย่าง เช่น วันนี้เก็บกวาดห้อง พรุ่งนี้พับผ้า มะรืนทำอาหาร

* บางคนคิดว่าถ้าต้องทำอะไรจุกจิกอย่างนั้น สู้ไปทำอย่างอื่นเช่นเรียนเพื่อสอบเอาวุฒิเพิ่มเติมไปเลยไม่ดีกว่าหรือ แต่ปัญหาอยู่ที่ถ้าข้ามขั้นตอนไปทำเรื่อยาก ๆ ในขณะที่สมองกลีบหน้ายังไม่อึดพอ หลังจากทำได้พักหนึ่งจะเริ่มเบื่อ เริ่มรู้สึกว่ายากเกินไป ทำให้ท้อใจจนล้มเลิกกลางคันไปในที่สุด

* สมองเราจะสร้างเครือข่ายเซลล์ประสาทขึ้นมาอยู่เสมอเพื่อรับมืองานที่เราทำเป็นประจำ ดังนั้นถ้าอยากฝึกบริหารสมองให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเราต้องหมั่นปรับเปลี่ยนวิธีที่เราทำสิ่งต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ เช่น ลองทำอาหารที่ไม่เคยทำมาก่อนสักอาทิตย์ละครั้ง หรือจัดห้องใหม่นิด ๆ หน่อย ๆ เมื่อนึกได้

* การเขียนไอเดียออกมาส่งผลดีต่อสมองกลีบหน้า ช่วยให้เราสามารถทบทวนความคิดตัวเองได้อย่างเป็นกลาง สามารถมองเห็นจุดบกพร่องในความคิดได้ง่ายขึ้น

* สภาพสังคมทุกวันนี้ทำให้คนใช้สมองน้อยลง เช่น การต้องพึ่งจีพีเอสอยู่เสมอ หากปล่อยตัวไปตามกระแสจะกลายเป็นคนที่ไม่ยอมใช้สมองเลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่หรือเล็กน้อยก็ตาม จึงควรบริหารสมองอยู่เป็นประจำ

* ความคิดเราเป็นระเบียบหรือไม่ดูได้จากการจัดระเบียบข้าวของห้องหับ การจัดระเบียบข้าวของช่วยให้เราได้จัดระเบียบความคิดไปในตัว ยิ่งยุ่งเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องทำ

* เมื่อสับสนกับงาน ให้จัดโต๊ะให้เป็นระเบียบเสียก่อน แล้วจะตั้งหลักทำงานได้ง่ายขึ้น

* การจดรายการสิ่งที่ต้องทำในเช้าวันนั้นหรือคืนก่อนหน้าก็เป็นพฤติกรรมที่ดี เพราะมันจะทำให้เราได้จัดระเบียบความคิด มีสติ และรู้ว่าตอนนี้ต้องทำงานอะไร

* คนที่รู้สึกว่าระยะหลังมานี้หัวไม่แล่น หรือเวลามีใครมาทักก็มักจะอึกอักอยู่พักหนึ่ง อาจะเป็นเพราะ จ้องจอมากเกินไป ไม่ว่าจะมือถือหรือโน้ตบุ๊คหรือโทรทัศน์ หากไม่ได้ออกไปเห็นทิวทัศน์ข้างนอก ไม่ได้สูดกลิ่นหอมของดอกไม้หรือไม่ได้สัมผัสสิ่งมีชีวิตใด ๆ เลย ประสาทสัมผัสจะไม่ได้รับการกระตุ้น และอาจทำให้สมองเสื่อมได้

* อาการเตือนอื่น ๆ จากการ จ้องจอมากเกินไปคือ อึกอักเมื่อมีใครเข้ามาคุยด้วย ไม่ค่อยสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบข้าง ถูกทักบ่อย ๆ ว่าชอบลืมนั่นลืมนี้ มีอาการย้ำคิดย้ำทำ

* ควรหมั่นกลอกตาไปมาอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง ฝึกมองไกลและใกล้เพื่อปรับโฟกัส และควรออกไปเดินเล่นบ้าง

* คนที่พูดเปรียบเปรยบ่อย ๆ สมองจะเสื่อมยาก เช่น ถ้าเปรียบกับการเล่นฟุตบอล เรื่องนี้จะเป็นอย่างนี้ อย่างนี้

* ความอ้วนส่งผลเสียต่อสมอง

* การจะมีไอเดียใหม่ ๆ หรือความคิดสร้างสรรค์ จำเป็นต้องมี ข้อมูลในสมองมากพอก่อน ดังนั้นจึงต้องหมั่นพยายามหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ จากนั้นจึงอาศัยความสามารถของสมองในการรับข้อมูล ในการเรียกความทรงจำ ในการจัดระเบียบความคิด ในการเรียบเรียงข้อมูล และในการถ่ายทอดข้อมูลให้คนอื่นเข้าใจ

* คนที่เอาตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง ไม่ใส่ใจข้อมูลจากคนรอบข้าง ในที่สุดจะเป็นคนที่ทำงานผิดพลาดได้ง่าย ๆ และขี้หลงขี้ลืมได้

* การพบรักช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง

* การจะป้องกันไม่ให้สมองเสื่อมสมรรถภาพนั้น เราต้องใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมาย แต่ชีวิตคนเราต้องเจออุปสรรคหนักบ้างจนหมดแรงจูงใจก็ต้องพักบ้าง

* แต่ระหว่างนั้นอย่าหยุดนิ่งไม่ยอมทำอะไรเลย ช่วงเวลาเช่นนั้นต้องฝึกสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อสมอง หากทำจนเป็นนิสัยได้แล้ว แม้ยามหมดแรงจูงใจ ก็จะทำต่อไปได้โดยไม่ต้องฝืน

==ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้==

* ชีวิตในสังคมอุดมเทคโนโลยีสร้างความสะดวกสบายอย่างทุกวันนี้สามารถทำให้สมองเสื่อมได้ง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนอย่างน่าตกใจ

* วิธีป้องกันและแก้ไขคือให้มีสติรู้เท่าทันและปรับพฤติกรรมประจำวันเพื่อบริหารสมองให้ขับเคลื่อนไปได้ดี มีแรงจูงใจ และกลับไปกระปรี้กระเปร่าได้เหมือนเดิม

หนังสือชื่อ อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่โดย นพ.ซุกิยะมะ ทะคะชิ แปลโดย ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ สำนักพิมพ์วีเลิร์น 240 หน้า ราคา 195 บาท มีจำหน่ายที่ร้านหนังสือชั้นนำและเวบไซต์ร้านหนังสือทั่วไป

ลักษณะของหนังสือมีตำหนิ (หนังสือเกรด B)
ตัวอย่าง เกรด/สภาพ
สภาพหนังสือชำรุดเล็กน้อย (B1)
ปกพับ สันบุบ ขาด
ลดราคา 20%
สภาพหนังสือชำรุดปานกลาง (B2)
ปกพับ สันบุบ ขาด สังเกตเห็นได้ว่าขาด ชำรุดมาก
ลดราคา 30%
สภาพหนังสือเก่าชำรุดปานกลาง (B3)
แต่ไม่มาก อาจมีสภาพปกพับ ปกหักร่วมด้วย
ลดราคา 50%
สภาพหนังสือเก่ามาก (B4)
อาจมีสภาพชำรุดร่วมด้วย แต่เนื้อหายังครบถ้วน
ลดราคา 70%
(ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยน หรือคืนทุกกรณี ยกเว้นชำรุดอันเนื่องมาจากการพิมพ์)