ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
บทวิจารณ์บรรณาธิการ : TED Talks : The Official TED Guide to Public Speaking
บทวิจารณ์บรรณาธิการ
เจาะลึกศาสตร์การสื่อสารอย่างทรงพลัง จากผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ TED
หนังสือ
365.00 บาท
346.75 บาท
คอลัมน์ “ดร.ณัชร จัดหนังสือ” เล่มที่ 447 “TED Talks: The Official
“ การพูดแบบไหนเหมาะกับคุณ? คอลัมน์ “ดร.ณัชร จัดหนังสือ” เล่มที่ 447 “TED Talks: The Official TED Guide to Public Speaking” ตอนที่ 3 “การพูดแบบต่าง ๆ” ”
โดย ดร.ณัชร จัดหนังสือ
    
=ภาพรวม=
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Chris Anderson ประธานของ TED ผู้ที่มีส่วนทำให้ TED Talks ซึ่งเป็นกิจกรรมการพูดแก่ผู้ฟังจำนวนหนึ่งสด ๆ (public speaking) เป็นที่รู้จักกันในระดับโลกผ่านทางยูทูป
ในเล่มผู้เขียนมอบ “กล่องเครื่องมือ” สำหรับเตรียมตัวในการขึ้นพูดในสไตล์ TED ไม่ว่าจะที่ใดก็ตาม ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการพูดในการนำเสนอผลงานในที่ทำงาน หรือการพูดทั่วไปได้ด้วย
เนื้อหาในเล่มมี 6 ส่วน คือ 1) คำนำ 2) พื้นฐานการพูดในที่ชุมชน 3) เครื่องมือในการพูด 4) ขั้นตอนการเตรียมตัว 5) เมื่ออยู่บนเวที และ 6) ทบทวนความสำคัญของการพูดในที่ชุมชน
รีวิวนี้เป็นเนื้อหาจากภาค 3 ของเล่ม คือ เครื่องมือในการพูด (Talk Tools)
ผู้เขียนนำเสนอวิธีการพูดไว้ 5 แบบ คือ
1) การสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ฟัง (connection) 
2) การเล่าเรื่อง (narration) 
3) การอธิบาย (explanation) 
4) การจูงใจ (persuasion) และ 
5) การนำเสนอเรื่องแปลกใหม่ หรือการเปิดเผยเรื่องที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน (revelation)
ตอนที่แล้วเราพูดเรื่อง “การสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ฟัง (connection)” กันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีพูดอีก 4 แบบที่เหลือ
=น่าสนใจจากในเล่ม=
* การพูดที่ยอดเยี่ยมของ TED หลายครั้งเป็นการพูดสไตล์เล่าเรื่อง (narration) เพราะสมองคนสามารถรับข้อมูลข่าวสารในลักษณะเรื่องเล่าได้ง่ายกว่าแบบอื่น ๆ
* เรื่องเล่าที่คนชอบมักมีลักษณะดังนี้ คือ ตัวเอกที่มีเป้าหมายในชีวิตต้องพบกับอุปสรรคที่คาดไม่ถึงซึ่งตามมาด้วยสถานการณ์ขั้นวิกฤติ จากนั้นตัวเอกพยายามเอาชนะอุปสรรคนั้น นำไปสู่จุด climax ของเรื่อง และตามมาด้วยตอนจบที่ตอบโจทย์ของพล็อทเรื่องนั้น ๆ
* หัวใจ 4 ประการของการเล่าเรื่องคือ
1) ใช้ตัวละครที่ผู้ฟังสามารถมีความรู้สึกร่วมได้
2) กระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความอยากรู้ อยากฟังต่อ ตื่นเต้น
3) ใส่รายละเอียดให้พอเหมาะ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
4) จบสวยด้วยการแก้ปัญหาที่ให้ความรู้สึกพึงพอใจกับผู้ฟัง
* พึงจำไว้เสมอว่าเป้าหมายของการพูดคือ การ “มอบบางสิ่งบางอย่างให้กับผู้ฟัง” ไม่ใช่เล่าเรื่องเพื่อยกอัตตาตัวตนของตนเอง
* จงมอบสิ่งที่ผู้ฟังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือมอบมุมมองใหม่ ๆ มอบความหวังให้ผู้ฟัง
* ตัวอย่างการพูด TED Talk ที่ใช้เรื่องเล่าได้อย่างสร้างสรรค์และตลกด้วยในเวลาเดียวกันที่ผู้เขียนแนะนำให้ไปลองฟังคือการพูดของ Sir Ken Robinson เรื่องความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก ๆ https://www.youtube.com/watch?v=iG9CE55wbtY
* นิทานเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเชิงสอนใจ (parable) ก็เป็นเรื่องเล่าที่ดีชนิดหนึ่ง
* แต่ก่อนที่จะใช้นิทานแนวอุปมาอุปไมย ผู้พูดจำเป็นต้องรู้จักผู้ฟังให้ดีเสียก่อน นิทานแนวนี้บางเรื่องอาจเหมาะกับผู้ฟังที่มีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่ผู้พูดมาก่อนแล้วเท่านั้น เช่น ความรู้เฉพาะทาง
* สำหรับการพูดแนวอธิบาย (explanation) ผู้เขียนแนะนำให้ฟังการพูดของ แดน กิลเบิร์ต นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้สามารถอธิบายเรื่องยาก ๆ เกี่ยวกับสมองได้อย่างน่าสนใจในการพูดเรื่อง “The Surprising Science of Happiness”
https://www.youtube.com/watch?v=4q1dgn_C0AU
* การพูดแบบจูงใจ (persuasion) คล้ายกับการพูดอธิบาย แต่ยากกว่าตรงที่ต้อง “ทำลายความเชื่อเดิม ๆ” ของผู้ฟังก่อน
* สำหรับการพูดแนวจูงใจ ผู้เขียนแนะนำให้ฟัง
Barry Schawarts เรื่อง The Paradox of Choice https://www.youtube.com/watch?v=VO6XEQIsCoM
และ
Elizabeth Gilbert เรื่อง Your Elusive Creative Genius https://www.youtube.com/watch?v=86x-u-tz0MA
* เคล็ดลับที่จะช่วยให้การพูดแนวจูงใจได้ผลดี คือ
1) ใช้อารมณ์ขันตั้งแต่ต้น
2) แทรกเกร็ดที่น่าสนใจ
3) ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
4) อ้างบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้
5) ใช้ภาพประกอบที่มีพลัง
* การนำเสนอเรื่องแปลกใหม่ หรือการเปิดเผยเรื่องที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน (revelation) อาจทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ภาพเล่าเรื่อง หรือใช้การสาธิต
* ผู้เขียนกล่าวว่า การนำเสนอเรื่องแปลกใหม่ หรือ การเปิดเผยเรื่องที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนนี้เปรียบได้กับการที่ศิลปินเดินนำคณะผู้ชมไปชมงานศิลปะชิ้นต่าง ๆ ของเขาในงานแสดงศิลปะทีละชิ้น
* การ “เดินนำ” ผู้ฟังนี้ไม่ใช่เพียงสักแต่ว่าเป็นการพาพวกเขาเดินจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง แต่ต้องวางแผนการเดินให้เป็นเส้นทางที่น่าสนใจ น่าติดตาม น่าเพลิดเพลินด้วย
* ในการพูดสไตล์สาธิตอะไรใหม่ ๆ ให้ผู้ฟังได้รับชมไปด้วยนั้น ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้โครงสร้างดังนี้
1) การยั่วให้เกิดความสนใจในตอนแรก
2) การเล่าที่มาที่ไป เช่น ที่มาของการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ
3) การสาธิต ที่ยิ่งเห็นได้ชัดและน่าตื่นเต้นเร้าใจได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี 
4) การเล่าผลที่ตามมาหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้านำสิ่งที่สาธิตนี้ไปใช้
* การแชร์ความฝันของผู้พูดก็จัดว่าเป็นการพูดแบบการนำเสนอเรื่องแปลกใหม่
* เคล็ดลับของการพูดแบบแชร์ความฝันคือการวาดภาพอนาคตอีกแบบที่เราต้องการ และวาดภาพนั้นต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกต้องการอนาคตอย่างนั้นเหมือนเราด้วย โดยสุนทรพจน์แนวแชร์ความฝันที่ยอดเยี่ยมตลอดกาลที่ผู้เขียนแนะนำให้ฟังคือสุนทรพจน์ของ
1) ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ชื่อ “I have a dream” (เวอร์ชั่นย่อ) https://www.youtube.com/watch?v=3vDWWy4CMhE
2) ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ ชื่อ “We choose to go to the moon” (เวอร์ชั่นย่อ ประโยคตัวอย่างในหนังสือเริ่มจากนาทีที่ 1:33)
https://www.youtube.com/watch?v=g25G1M4EXrQ
* นอกจากการพูดทั้ง 5 สไตล์ที่ได้กล่าวมาในรีวิวตอนนี้และตอนที่แล้ว ผู้เขียนยังแนะนำให้ทดลองผสมผสานแนวการพูดมากกว่า 1 สไตล์ไว้ในการพูดครั้งเดียวกันด้วย
* ตัวอย่างการพูดแนวผสมผสานที่ผู้เขียนแนะนำให้ฟังคือการพูดของ ดร.เอมี่ คัดดี้ เรื่อง "ภาษาของร่างกายส่งผลต่อความมั่นใจของเราอย่างไร" ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการพูดแนวอธิบายและการเล่าเรื่องส่วนตัว https://www.youtube.com/watch?v=Ks-_Mh1QhMc
* โปรดติดตามรีวิวตอนต่อไป ในหัวข้อ “การเตรียมตัวขึ้นพูด”
หนังสือชื่อ “TED Talks: The Official TED Guide to Public Speaking” โดย Chris Anderson สำนักพิมพ์ Houghton Mifflin Harcourt 2016 269 หน้า ราคา 696 บาท มีจำหน่ายที่ร้านหนังสือต่างประเทศชั้นนำและเวบไซต์ร้านหนังสือต่างประเทศทั่วไป
ลักษณะของหนังสือมีตำหนิ (หนังสือเกรด B)
ตัวอย่าง เกรด/สภาพ
สภาพหนังสือชำรุดเล็กน้อย (B1)
ปกพับ สันบุบ ขาด
ลดราคา 20%
สภาพหนังสือชำรุดปานกลาง (B2)
ปกพับ สันบุบ ขาด สังเกตเห็นได้ว่าขาด ชำรุดมาก
ลดราคา 30%
สภาพหนังสือเก่าชำรุดปานกลาง (B3)
แต่ไม่มาก อาจมีสภาพปกพับ ปกหักร่วมด้วย
ลดราคา 50%
สภาพหนังสือเก่ามาก (B4)
อาจมีสภาพชำรุดร่วมด้วย แต่เนื้อหายังครบถ้วน
ลดราคา 70%
(ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยน หรือคืนทุกกรณี ยกเว้นชำรุดอันเนื่องมาจากการพิมพ์)